รูปหินดุ - ไม้ตี
ประวัติและวิธีการทำโอ่งมังกร
ประเทศไทยผลิตโอ่งมังกรครั้งแรกในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จังหวัดราชบุรีเป็นแห่งแรกเป็นการผลิตเลียนแบบโอ่งมังกรที่นำเข้าจากประเทศจีน (โอ่งกักเก็บน้ำชั้นดี
นิยมนำเข้าจากประเทศจีนแทบทั้งสิ้น) ในภาวะสงครามสินค้าจากต่างประเทศไม่สามารถนำเข้ามาค้าขายได้จึงต้องผลิตขึ้นมาทดแทน
โอ่งมังกร จัดเป็นผลิตภัณฑ์ในประเภท สโตนแวร์ (Stoneware) ที่ได้รับการยอมรับว่ามีคุณภาพดีจะต้องเป็นโอ่งผลิตที่จังหวัดราชบุรี
ซึ่งโอ่งในสมัยแรกเป็นโอ่งไม่มีการติดลวดลายใดๆ เรียกว่าโอ่งเลี่ยน
ต่อมามีการคิดแกะลวดลายดอกติดที่พิมพ์ไม้ ตีที่บ่ารอบๆโอ่ง
ให้มีลายนูนขึ้นมาคล้ายไหในปัจจุบัน
ต่อมามีการนำเข้าดินขาวจากเมืองจีน เพื่อมาทดลองติดเป็นลายมังกร
เลียนแบบโอ่งมังกรของจีน ปรากฏว่าได้ผลดี จึงผลิตโอ่งมังกรขายสักระยะหนึ่ง
การนำเข้าของวัตถุดิบจากจีนเกิดมีปัญหาในการขนส่งมีราคาแพงขึ้นและไม่สะดวกในการขนส่งมาจังหวัดราชบุรี
ผู้ผลิตจึงเริ่มมองหาแหล่งดินขาวภายในประเทศทดแทน โดยทดลองนำดินจากจังหวัดชลบุรี
ระยอง มาติดลวดลายแทนดินขาวจากประเทศจีน
ซึ่งประสบความสำเร็จสามารถใช้ทดแทนดินขาวจากประเทศจีนได้
ถือเป็นการหมดยุคการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศ
กระบวนการผลิตโอ่งมังกรจะเริ่มจากการซื้อดินเก็บมากองไว้โรงงาน (stock) ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยมีพ่อค้าคนกลางไปสำรวจหาแหล่งดิน ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอโพธาราม แล้วเปิดหน้าดินนำดินข้างล่างขึ้นมาเสนอขาย ในราคาประมาณคันรถสิบล้อละ 1,000 บาท/8 คิว โดยจะบริการขึ้นกองให้เสร็จเรียบร้อย จะต้องกองดินทิ้งไว้ข้ามปีให้น้ำฝนชะล้างสารบางชนิดที่อยู่ในเนื้อดินให้ลดลง
กระบวนการผลิตโอ่งมังกรจะเริ่มจากการซื้อดินเก็บมากองไว้โรงงาน (stock) ในช่วงฤดูแล้งระหว่างเดือนมีนาคม-มิถุนายน โดยมีพ่อค้าคนกลางไปสำรวจหาแหล่งดิน ในเขตอำเภอเมืองราชบุรี และอำเภอโพธาราม แล้วเปิดหน้าดินนำดินข้างล่างขึ้นมาเสนอขาย ในราคาประมาณคันรถสิบล้อละ 1,000 บาท/8 คิว โดยจะบริการขึ้นกองให้เสร็จเรียบร้อย จะต้องกองดินทิ้งไว้ข้ามปีให้น้ำฝนชะล้างสารบางชนิดที่อยู่ในเนื้อดินให้ลดลง
ดินปั้นโอ่งใช้ดินเหนียว ซึ่งต้องนำมาหมักไว้ในบ่อหมักดินประมาณ 2 คืนเพื่อให้ดินอ่อนตัว
แล้วใช้พลั่วซอยให้ดินมีขนาดเล็กให้น้ำซึมได้อย่างทั่วถึง
เพื่อให้ดินอิ่มน้ำทั่วทั้งก้อน
หลังจากนั้นจะนำดินขึ้นมาจากบ่อหมักแล้วนำมาเข้าเครื่องนวดใส่ทรายละเอียดผสมในอัตราส่วนประมาณ 5 -10เปอร์เซ็นต์
เครื่องนวดจะนวดดินเหนียวกับทรายให้คลุกเคล้าเข้าด้วยกันจนดูเหมือนเป็นเนื้อเดียวกัน
ดินเหนียวที่ได้ตอนนี้จะไม่เหลวเกินไปหรือแข็งเกินไป
เหมาะที่จะนำไปปั้นเป็นภาชนะและเครื่องใช้ต่างๆ
ดินผสมที่นวดออกมาจากเครื่องนวดจะกองเป็นดินกองใหญ่ เวลาใช้จะนำดินไปเข้าเครื่องรีดดินออกมาเป็นแท่ง ก่อนใช้เครื่องมือตัดดิน เรียกกันว่า โถ่งเก็ง เป็นเหล็กเส้นกลมนำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ปลายเหล็กเส้นรูปตัวยูจะขึงลวดไว้จนตึงเส้นลวดนี้ใช้เป็นเครื่องมือตัดดินออกมาเป็นท่อนๆ เท่ากับจำนวนที่ต้องการใช้
ดินผสมที่นวดออกมาจากเครื่องนวดจะกองเป็นดินกองใหญ่ เวลาใช้จะนำดินไปเข้าเครื่องรีดดินออกมาเป็นแท่ง ก่อนใช้เครื่องมือตัดดิน เรียกกันว่า โถ่งเก็ง เป็นเหล็กเส้นกลมนำมาโค้งเป็นรูปตัวยู ปลายเหล็กเส้นรูปตัวยูจะขึงลวดไว้จนตึงเส้นลวดนี้ใช้เป็นเครื่องมือตัดดินออกมาเป็นท่อนๆ เท่ากับจำนวนที่ต้องการใช้
แป้นหมุน
เครื่องมือสำคัญในการขึ้นรูปคือ
แป้นหมุนซึ่งเป็นแผ่นเหล็กกลมมีแกนกลาง หมุนได้รอบตัว
ด้วยเครื่องมอเตอร์ไฟฟ้าแบ่งการปั้นออกเป็น 3 ประเภทคือ
ของเล็กจะเป็นงานที่ขึ้นปั้นครั้งเดียวจบเป็นชิ้นงาน ของใหญ่ที่มีขนาดบรรจุ 2 ปี้บ
ขึ้นไป (บรรจุน้ำประมาณ 40 ลิตร) จะปั้น 2 ตอน
ต้องรอให้ท่อนล่างแข็งตัว (ดินหมาด) พอที่จะรองรับการปั้นต่อเสริมอีกช่วงได้
ส่วนโอ่งซึ่งถือเป็นชิ้นงานที่ใหญ่ที่สุดจะปั้นเป็น 3 ตอน ในการปั้นโอ่งจะต้องใช้คน 3 คน คือ คนเตรียมดิน
ช่างปั้นและผู้ช่วยแต่ละคนจะทำงานประสานกัน คือ คนเตรียมดินจะตัดดินที่นวดแล้ว
นำมาตัดแบ่งเป็นก้อนให้พอเหมาะกับการปั้นภาชนะนั้นๆเช่น ปั้นโอ่ง
คนเตรียมดินแบ่งดินสำหรับขึ้นก้นโอ่งด้วยการนวดดินปั้นให้เป็นรูปกลม
แล้วกดให้แบนนำไปวางบนแป้นหมุนกดให้บานออกอีกครั้งให้หนาประมาณข้อนิ้วจากนั้นจะรีดให้เรียบแผ่กว้างตามที่ต้องการ
แล้วจึงประคองดินด้านข้างรีดให้สูงและแต่งให้เรียบ
การเชื่อมต่อผนังโอ่งจะใช้ดินที่นวดเป็นเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 3 นิ้ว ยาว 45 เซนติเมตร โดยกดดินเส้นให้บรรจบกับผนังโอ่งที่เรียกว่า
"การยิ" ให้รอบ
แล้วจึงเริ่มประคองดินก่อเป็นผนังพร้อมรีดให้มีความหนาไม่เกิน 1 นิ้ว สูงประมาณ 1 ฟุต จากนั้นก็จะรีดให้บานออกด้วยสันมือประกอบกับใช้ผ้าหรือฟองน้ำชุบน้ำช่วยรีดให้บานออกตามขนาดที่วางไว้พร้อมตกแต่งข้างนอกให้เรียบ
จะได้โอ่งที่มีเฉพาะผนังกับก้นโอ่งเท่านั้น ยังไม่มีขอบหรือปากโอ่ง
ผู้ช่วยจะต้องยกตัวโอ่งลงจากแป้นหมุน ถ้าเป็นโอ่งขนาดเล็กจะยกคนเดียว
โอ่งขนาดใหญ่ต้องช่วยกันยกกับคนเตรียมดินแล้วนำไปผึ่งไว้รอให้แห้ง
ก่อนการขึ้นส่วนที่สอง จะต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า หินดุกับไม่ตี
ให้ส่วนที่หนึ่งบางเพื่อประกบกับส่วนที่สองได้
ช่างปั้นจะต่อให้ได้ขนาดสูงและบานกว้างตามที่ต้องการ นำไปผึ่งให้หมาด ประมาณ 1-2 วัน การต่อปากโอ่งเมื่อยกขึ้นวางบนแป้นแล้วช่างปั้นขึ้นปากโอ่งจะใช้ดินที่คนเตรียมดินทำเป็นเส้นไว้แล้ว
มาวางวนรอบผนังโอ่งใช้เท้าถีบแป้นให้หมุน
มือทั้งสองข้างบีบดินให้ติดกับผนังโอ่งและปั้นแต่งให้เป็นปากโอ่ง
พอจวนจะได้ที่ใช้ฟองน้ำชุบน้ำปาดวนรอบปากโอ่ง อีกเที่ยวหนึ่ง ปากโอ่งจะเรียบสวย
จากนั้นก็ยกโอ่งไปผึ่งลมไว้ที่ลานวิธียกโอ่งขนาดเล็กลงจากแป้นนั้น
สำหรับงานปั้นคนเดียวต้องใช้เส้นลวดตัดก้นโอ่งที่ติดอยู่กับแป้นก่อนตัวโอ่งที่ปั้นได้ขณะนี้เนื้อดินยังอ่อนไม่แข็งตัว
ดังนั้นเมื่อยกขึ้นจากแป้น รูปทรงของโอ่งอาจจะเบี้ยวทำให้เสียทรงได้
ผู้ช่วยช่างปั้นโอ่งจึงต้องใช้ห่วงไม้สองห่วงมาช่วยบังคับรูปทรงคือ
จะวางห่วงอันเล็กไว้ที่ก้นโอ่งด้านในและใส่ห่วงอันใหญ่ไว้ที่ปากโอ่ง
เมื่อยกหรือย้ายตัวโอ่งลงจากแป้นก้นโอ่งและปากโอ่งจะยังคงสภาพเดิม
ส่วนกลางโอ่งอาจเบี้ยวบิดไปบ้าง
แต่จะทำการตกแต่งให้คืนสภาพเดิมได้ง่ายและคอโอ่งนี้
ไม่มีชื่อเรียกเป็นภาษาไทยแต่เรียกเป็นภาษาจีนว่า โคว ซึ่งก็แปลว่า ห่วง นั่นเอง
ก่อนการเขียนลายโอ่งจะต้องมีคนตบแต่งผิวโอ่งให้เรียบ
และแต่งรูปทรงของโอ่งให้ดีไม่บิดเบี้ยว วิธีแต่งผิวโอ่งจะใช้เครื่องมือ 2 ชนิด
คือ ฮวยหลุบ กับ ไม้ตี ซึ่งเป็นไม้แบน ฮวยหลุบ เป็นคำในภาษจีนหมายถึง
เครื่องมือชนิดหนึ่งทำด้วยดินเผา ลักษณะเป็นรูปกลมมน เหมือนลูกประคบมีที่จับอยู่กลางลูก เวลาตีโอ่งคนตีจะจับตรงที่จับฮวยหลุบใช้รองผิวโอ่งด้านใน
ส่วนด้านนอกโอ่งใช้ไม้ตีแต่งผิวโอ่งจนทั่วทั้งโอ่ง เมื่อเห็นว่าดีแล้ว จึงจะเขียนลายลงบนโอ่งการเขียนลายลงบนโอ่ง
จะมีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนการเขียนลายเซรามิกส์ประเภทอื่น
วัสดุที่ใช้เขียนลายบนโอ่งจะเป็นดินเหนียวผสมกับดินขาวนวดจนเนื้อดินนิ่ม
เนื้อดินจะต้องร่อนพิเศษให้มีเนื้อละเอียดมากเท่าที่จะทำได้ เรียกว่า ดินติดดอก ดินติดดอกเป็นดินสำหรับติดลายบนโอ่ง (จะขับให้เคลือบออกสีเหลือง ในขณะที่พื้นเดิมจะเป็นสีน้ำตาล)
เมื่อโอ่งแต่งผิวเรียบร้อยแล้ว จะถูกนำมาวางบนแท่นหมุนอีกครั้ง
แท่นนี้จะหมุนด้วยมือ ช่างติดลายจะใช้ดินติดดอกปั้นเป็นเส้นเล็กๆ
ป้ายติดไปที่โอ่งสามตอนเพื่อเป็นการแบ่งโอ่งออกเป็น 3 ช่วง
คือ ช่วงปากโอ่ง (บ่า)
ตัวโอ่ง (ไหล่) และเชิงล่างของโอ่ง (ขา) แต่ละช่วงติดลายไม่เหมือนกัน (สมัยก่อนติดลาย 2 ช่วงคือ ปากโอ่ง และตัวโอ่ง
ส่วนช่วงขาบางครั้งติดเป็นลายกนก ลายเครือวัลย์ ลายไขว้ เป็นต้น)ช่วงปากโอ่ง นิยมติดลายดอกไม้หรือลาย เครือเถา เพื่อความสะดวกรวดเร็วและความเป็นระเบียบสวยงาม
การติดลายช่วงนี้จะมีแบบฉลุแผ่นพลาสติกใสเป็นลายที่ต้องการเอาไว้เวลาติดลาย
ช่างจะนำเอาแบบฉลุมาทาบลงบนผิวโอ่ง
แล้วนำดินติดดอกกดปาดลงบนแบบฉลุพอยกแบบออกดินติดดอกจะไปติดบนผิวโอ่งเป็นลวดลายตามแบบนั้นๆ
ตัวโอ่ง นิยมเขียนเป็นรูปมังกรในลักษณะต่างๆ เช่น ตัวมังกรตัวเดียว (ปัจจุบันนิยมทำ) มังกรคาบแก้ว
มังกรสองตัวเกี่ยวกัน มังกรสองตัววิ่งไล่กัน (สมัยแรกนิยมทำ)
ช่างจะอาศัยความชำนาญในการติดลาย ไม่มีการร่างเป็นรูปก่อน
โดยป้ายดินจากส่วนหัวเรื่อยมายังส่วนอก ท้อง
และลากหางขดยาวไปตามจินตนาการเติมรายละเอียดในส่วนหัว เมื่อได้ตัวมังกรแล้วจะใช้เหล็กแหลมวาดลวดลายเป็นหน้า
จมูก ฟัน ลิ้น เขา ใช้หวีหัก แต่งเป็นขนคอใช้เหล็กที่งอเป็นรูปเล็บมือประมาณ 4-5 ซี่สักให้เป็นเกล็ดมังกร
ส่วนหางจะใช้ดินป้ายให้ยาวคล้ายไม้กวาด พร้อมเติมเมฆ
และพระอาทิตย์ตามจินตนาการของผู้ติดลายการเขียนหรือเรียกให้ถูกว่าติดลายมังกรนี้ถือเป็นส่วนสำคัญมาก
เพราะโอ่งจะสวยสะดุดตามากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับลาย ช่างบางคนมีความสามารถพิเศษ
สามารถปั้นหัวมังกรติดตัวมังกรซึ่งเป็นภาพมิติเดียวแล้วทำให้ดูมีชีวิตชีวายิ่งขึ้น (ปัจจุบันมีฉลุแผ่นพลาสติกใสเป็นลายมังกรออกจำหน่าย
สร้างความสะดวกให้กับเจ้าของโรงงานเป็นอันมาก)
ช่วงเชิงด้านล่างโอ่งช่างจะติดลายวิธีเดียวกับช่วงปากโอ่งแต่ลายช่วงนี้จะเป็นแบบง่ายๆ
โอ่งมังกรของจังหวัดราชบุรีในยุคแรก
จะใช้ช่างชาวจีนที่เดินทางมารับจ้างเป็นช่างปั้น
ในประเทศไทยทำลวดลายต่างๆเหมือนโอ่งมังกรที่ทำในประเทศจีนแทบทั้งหมด
ต่อมาเมื่อช่างจีนล้มหายตายจากกันไป จึงเหลือแต่ช่างไทยซึ่งได้พลิกแพลงเปลี่ยนรูปทรงมังกรแบบเมืองจีน
โดยเพิ่มลวดลายมาทางไทยบ้าง
ตอนหลังเนื่องจากภาวะบีบรัดทางเศรษฐกิจและผลิตจำนวนมากช่างผลิตไม่ทัน ลวดลายต่างๆ
จึงเพี้ยนไปจากของเดิม ลักษณะของมังกรจึงไม่สมดุล
หน้าตาและเกล็ดไม่ครบอย่างแบบเดิม ขามังกรของจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่จะนิยมทำแค่ 4 เล็บ
(มังกรห้าเล็บหมายถึงมังกรกษัตริย์)
มีอยู่ระยะหนึ่งได้มีการทดลองเขียนลายไทยแทนลายมังกรแต่ไม่ได้รับความนิยมจากท้องตลาดจึงเลิกไปในที่สุดเมื่อติดลายลงบนตัวโอ่งเรียบร้อยแล้ว
จะนำโอ่งมาเคลือบ ซึ่งน้ำเคลือบที่ใช้จะเป็นส่วนผสมระหว่างน้ำโคลนผสมกับขี้เถ้า(โดยทั่วไปจะใช้ขี้เถ้าที่เกิดจากการเผาโอ่งภายในโรงงานแต่ทั้งนี้เถ้าที่ได้จากกระดูกสัตว์นำมาทำน้ำเคลือบจะให้สีสดสวยกว่าเถ้าจากพืช)
เถ้าที่จะนำมาผสมน้ำโคลนจะต้องร่อนให้ละเอียดที่สุด (น้ำเคลือบที่ดีจะเกิดจากน้ำโคลนและเถ้าที่ละเอียด)การเคลือบโอ่งจะนำโอ่งวางหงายในกระทะใบบัวใช้น้ำเคลือบราดให้ทั่วด้าน
ในโอ่งจากนั้นจึงช่วยกันยกโอ่งคว่ำลงในกระทะตักน้ำเคลือบมาราดรดผิวนอกจนทั่ว
จึงช่วยกันยกโอ่งขึ้นนำไปวางหงายผึ่งลมไว้
น้ำเคลือบที่เหลืออยู่ในกระทะใบบัวก็ตักเทใส่รวมกับน้ำเคลือบที่เตรียมไว้ นำโอ่งใบใหม่มาวางบนกระทะอีก
แล้วก็ทำการเคลือบตามกรรมวิธีเดิม น้ำเคลือบนอกจากจะให้สีสันและความมัน
เมื่อเผาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ยังช่วยสมานรอยและรูระหว่างเนื้อดินเมื่อนำโอ่งไปใส่น้ำจะไม่ซึมออกมานอกโอ่งผึ่งให้แห้ง
ประมาณ 80-90% ก่อนลำเอียงเข้าเตา
การเผาโอ่งนับเป็นกรรมวิธีขั้นสุดท้ายของการทำโอ่งมังกร
เตาเผาโอ่งเป็นเตาขนาดใหญ่เรียกว่า
เตามังกรก่อด้วยอิฐมีผนังและหลังคาเป็นรูปยาวคล้ายลำตัวเครื่องบินโดยสาร
ข้างเตาด้านหนึ่งจะเจาะเป็นช่องประตู เพื่อใช้เป็นทางนำโอ่งหรือภาชนะดินเข้าบรรจุ
หรือออกจากเตาด้านนอก ข้างเตาอีกข้างหนึ่งจะก่ออิฐเรียบไปตลอด
ด้านบนของเตาจะเจาะรูไว้เป็นระยะๆ เพื่อใช้ใส่ฟืนเป็นเชื้อเพลิงในการเผา
รูที่เจาะไว้นี้เรียกว่า ตา จะมีตาอยู่ข้างเตาทั้งสองด้าน
เตามังกรหนึ่งๆจะมีช่องประตูและตามากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับขนาดของเตา เช่น
เตาที่มี 4 ช่องประตูจะทำตาไว้ข้างเตา 70 ตาปลายด้านหนึ่งของเตามังกร
จะใช้เป็นหัวเตาสำหรับก่อไฟ
ส่วนปลายอีกด้านเป็นท้ายเตาใช้เป็นปล่องสำหรับระบายควันออกจากเตาเมื่อจะเผาโอ่งหรือภาชนะดินอื่นๆ
นั้น จะต้องเปิดประตูเตานำโอ่งและภาชนะที่จะเผาเข้าไปเรียงในเตาจนเต็ม
โดยเรียงของชิ้นใหญ่ไว้ตรงห้องข้างท้าย และเรียงของชิ้นเล็กไว้บริเวณห้องข้างหัว
เนื่องจากพื้นที่แคบและเตี้ย
จากนั้นปิดประตูทางเข้าออกและช่องใส่ไฟด้วยอิฐชนิดเดียวกับที่ใช้ก่อเตา
จะเปิดตรงด้านหัวเตาเพื่อเริ่มการสุมหัวคือจุดไฟเพื่ออบให้ภายในเตามีความร้อนสะสมเพิ่มมากขึ้นประมาณ 10 ชั่วโมง
ในการสะสมความร้อนให้ได้ 1,150-1,200 องศาเซลเซียส แล้วจึงเริ่มเดินเตาคือ
เปิดช่องใส่ฟืนทางด้านหลังเตาเริ่มจากห้องหัว (พื้นที่เล็กแคบเตี้ย)
ใส่เชื้อไฟตามตามที่อยู่รอบๆ จนถึงท้ายเตา
ถือเป็นการเสร็จสิ้นขั้นตอนการเผาจึงปิดทุกช่องของเตา และทิ้งไว้ประมาณ 10-12 ชั่วโมง เริ่มทยอยระบายความร้อนในเตาด้วยวิธีการเปิดตา
จนความร้อนลดไประดับหนึ่ง
จึงแง้มช่องประตูให้ความเย็นเข้าทางประตูและความร้อนออกทางตาและปล่องใช้เวลาประมาณ 8-10 ชั่วโมง
ก่อนเปิดประตูออกทั้งหมด เมื่ออุณหภูมิอยู่ในระดับที่คนทนได้
จะช่วยกันลำเลียงชิ้นงานที่เผาออกหมดทั้งเตา
พร้อมทำความสะอาดและซ่อมแซมภายในเตา
ถือเป็นการจบกระบวนการก่อนที่จะเริ่มการเผาครั้งต่อไปผลิตภัณฑ์ที่ลำเลียงออกมาต้องนำมาคัดแยกเกรดเป็นเกรดเอที่มีความสมบูรณ์
เกรดบีมีตำหนิ และเกรดซีที่มีตำหนิมากที่สุด นำมาซ่อมแซมจัดจำหน่ายในราคาที่ลดหลั่นกันไปในกรณีที่ชิ้นงานชำรุดมากจะนำไปทุบทำลายใช้ถมที่ต่อไปโอ่งมังกรที่ติดตลาดจะมีขนาดตั้งแต่บรรจุน้ำ 1 ปี๊บ 2 ปี๊บ 4 ปี๊บ 6 ปี๊บ 8 ปี๊บ
และ 10 ปี๊บ
ผลิตภัณฑ์เครื่องเคลือบดินเผาราชบุรี นอกจากโอ่งมังกรแล้วยังมีประเภทของเล็ก
ได้แก่ ไห นิยมใช้หมักดองผัก ผลไม้
หมักน้ำปลามีอยู่สมัยหนึ่งใช้ในการใส่น้ำส้มสายชู บ่มเหล้า (แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร) มี 3 ขนาด
ได้แก่ ไหแจ๋ว (จะมีขนาดเล็กรูปทรงคล้ายกะป๊อกล๊อกเล็ก
ปากแคบก้นสอบ) ไหจิ๋ว ไหจู๋ ไหกลาง ไหใหญ่ (บรรจุน้ำประมาณ 38 ขวด)กะป๊อกล็อก
(โอ่งมังกรขนาดเล็ก) ทรงป้อมไม่สูงมากนักนิยมใช้บรรจุเครื่องใช้ในครัวเรือน เช่น
พริกแห้ง กระเทียม เกลือ ดองหน่อไม้ ดองปลาร้า ทำน้ำปลา เพาะถั่วงอกมี 3 ขนาดได้แก่
กะป๊อกล็อกเล็ก (1-2 ลิตร) กะป๊อกล็อกกลางกะป๊อกล็อกใหญ่ (1/2 ปี๊บ)
โอ่งหนึ่งปี๊บ โอ่ง 2 ปี๊บ โอ่ง 4 ปี๊บ โอ่ง 6 ปี๊บ
โอ่ง 8 ปี๊บ และมีรุ่นพิเศษคือโอ่ง 10 ปี๊บและ 12 ปี๊บ
ซึ่งปัจจุบันจะไม่นิยมทำเพราะใช้แป้นหมุนในการขึ้นรูปทำได้ยาก
ไม่เหมือนแต่ก่อนที่ใช้ดินขดขึ้นไปที่ละขั้นทำให้ไม่มีปัญหาในการขึ้นรูป
อ่างน้ำข้าว มีด้วยกัน 4 ขนาด ได้แก่ สี่เอ๊ย
ซาเอ๊ย ยี่เอ๊ย ตั่วเอ๊ย (ปัจจุบันไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควรเพราะมีผลิตภัณฑ์พลาสติกเข้ามาแทนที่)กระถางต้นไม้-ดอกไม้
ได้แก่ กระถางไม้จิ๋ว กระถางไม้เล็ก กระถางไม้กลาง กระถางไม้ใหญ่กระถางมังกร
ได้แก่ กระถางมังกรปี๊บ กระถางมังกร 2ปี๊บ กระถางมังกร 4 ปี๊บ
อ่างบัวเริ่มผลิตไม่นาน สมัยก่อนจะใช้โอ่งในการปลูกบัว เรียกว่า
โอ่งบัว เป็นโอ่งใบใหญ่ปากกว้างก้นสอบ น้ำหนักมากผลิตให้ได้ดียากมาก(ไม่ได้รับความนิยมในการผลิต) จึงหันมาใช้โอ่งซีอิ๊วซึ่งมีลักษณะช่วงปาก
(ตุ้น) กลม และขอบปากมีเหลี่ยมนิดหน่อยไม่มีลวดลายปลูกบัวแทน
ก่อนพัฒนารูปทรงจนกลายเป็นอ่างบัวในปัจจุบัน
ในระยะหลังผู้ผลิตเครื่องเคลือบดินเผาราชบุรีหันมาผลิตกระถางแดงจำพวกเทอราคอตต้ามากขึ้น
เนื่องจากมีอยู่ระยะหนึ่งเกิดน้ำท่วม ที่อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี
ซึ่งแหล่งผลิตกระถางแดงแห่งใหญ่ของประเทศช่วงนั้น
ผู้ค้าจึงได้หันมาสั่งกระถางแดงจากจังหวัดราชบุรีแทน (ฟื้นตัวจากน้ำท่วมผู้ผลิตในอำเภอปากเกร็ด
หันแนวผลิตเครื่องประดับผลิตภัณฑ์ตกแต่งสวนส่งออก
ส่วนกระถางแดงหันไปผลิตที่สิงห์บุรี อ่างทอง และสุโขทัยแทน
เนื่องจากต้นทุนการผลิตถูก สำหรับชาวราชบุรียังคงมีการผลิตอยู่เช่นเดิม
แต่ก็ประสบกับภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ
ทำให้สินค้าที่ผลิตออกมาแล้วจำหน่ายได้น้อยจนสินค้าล้นตลาด
ราคาก็ตกต่ำกว่าแต่ก่อนมากทุกโรงกำลังประสบกับปัญหาการแบกรับค่าใช้จ่ายที่สูง
แต่รายรับต่ำเกิดภาวะขาดทุนแทบทุกเดือน จนบางโรงงานต้องปิดกิจการไปแล้ว
ในอนาคตอาจจะเหลือแต่เพียงชื่อและตำนานในอดีตของเมืองราชบุรีโอ่งมังกร
อ้างอิงจาก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น